หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (โดยย่อ)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย
ชื่อปริญญา ภาษาไทย: ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts (Thai)
อักษรย่อภาษาไทย: ศศ.บ. (ภาษาไทย)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.A. (Thai)
หลักสูตรปริญญาตรี (ทางวิชาการ) 4 ปี รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
เริ่มเปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2559 ปรับปรุงจากหลักสูตร ชื่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2561
จัดการเรียนการสอนโดยภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จังหวัดชลบุรี
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ด้านวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ
2. ด้านสื่อสารมวลชนทางวิทยุและโทรทัศน์ เช่น ผู้ประกาศ พิธีกร โฆษก ผู้ดำเนินรายการ
นักอ่านบทสารคดีและสปอตโฆษณา นักเล่าข่าว ฯลฯ
3. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร และกวีนิพนธ์
นักวิจารณ์ นักเขียนต้นฉบับ (Rewriter, Copy writer) นักพิสูจน์อักษร ฯลฯ
4. ด้านงานธุรการและสารบรรณ เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการและสารบรรณ ฯลฯ
-ปรัชญาของหลักสูตร-
ศึกษาและบูรณาการศาสตร์และศิลป์ทางภาษาและวรรณกรรม โดยเน้นกระบวนการการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน การเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสาร การมีความคิดสร้างสรรค์ การตระหนักในคุณค่าของความเป็นไทย รวมถึงมีความเข้าใจตนและผู้อื่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของการมีคุณธรรมจริยธรรม
-วัตถุประสงค์ของหลักสูตร-
1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาและวรรณกรรมไทย สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหารายวิชาของหลักสูตรมุ่งให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม เป็นแบบอย่างและมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยใฝ่รู้ในการใช้ความสามารถด้านภาษา วรรณกรรมและวรรณคดีไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางภาษาไทย ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยร้อยละ 80 ของบัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรนี้มีพื้นฐานทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทยได้ดี สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นครูสอนภาษาไทย นักพิสูจน์อักษร นักเขียน นักพูด พิธีกร ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเอกสาร งานด้านวิจัย รวมทั้งการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเอกสารและวารสาร
2. วัตถุประสงค์เชิงสมรรถนะ
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
-
มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาไทยได้ดี
-
มีบุคลิกภาพ มีโลกทัศน์กว้างไกล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-
มีความรู้ในรายวิชาที่หลากหลาย ทั้งด้านภาษา วรรณกรรม วรรณคดี และภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
-
ภูมิใจในความเป็นไทย และมีเจตคติที่ดีต่อประเทศไทย ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย
-
มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
โครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 96 หน่วยกิต
1) วิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต
2) วิชาเอกเลือก 51 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รายวิชา
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ประกอบด้วย
ภาษาอังกฤษบังคับ 9 หน่วยกิต
99910159 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 (3-0-6)
English for Communication
99910259 ภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัย 3 (3-0-6)
Collegiate English
99920159 การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 (3-0-6)
English Writing for Communication
ภาษาอื่น ๆ 3 หน่วยกิต
22810159 ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3 (3-0-6)
Thai Language Skills for Communication
1.2 กลุ่มวิชาอัตลักษณ์และคุณภาพชีวิตบัณฑิตบูรพา 4 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
41530359 จิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต 2 (2-0-4)
Psychology for the Quality of Life
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
73110159 ทักษะชีวิตและสุขภาพวัยรุ่น 2 (2-0-4)
Life Skill and Adolescent Health
1.3 กลุ่มวิชาทักษะชีวิตและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
40240459 จิตอาสาเพื่อการพัฒนาสังคม 2 (2-0-4)
Volunteer Spirit for Social Development
41420259 อารมณ์และการจัดการความเครียด 2 (2-0-4)
Emotion and Stress Management
77037859 การดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียนผ่านวัฒนธรรม 3 (3-0-6)
ASEAN Living through Culture
1.4 กลุ่มวิชานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ 4 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
26510359 มนุษย์กับทักษะการคิด 2 (2-0-4)
Man and Thinking Skills
42310359 การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา 2 (2-0-4)
Systems Thinking and Problem Analysis
1.5 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
24510159 ทักษะสารสนเทศในสังคมฐานความรู้ 3 (3-0-6)
Information Skills in Knowledge-based Society
2) หมวดวิชาเฉพาะ 96 หน่วยกิต
2.1) วิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต
22811159 ศิลปะการพูดและการนำเสนอ 3 (2-2-5)
Arts of Speech and Presentation
22811259 ทักษะการฟัง 3 (2-2-5)
Listening Skills
22811359 ทักษะการเขียน 3 (2-2-5)
Writing Skills
22813159 ภาษาศาสตร์เบื้องต้น 3 (3-0-6)
Basic Linguistics
22815159 วรรณคดีศึกษา 3 (3-0-6)
Literature Studies
22821159 การอ่านเชิงวิเคราะห์ 3 (2-2-5)
Analytical Reading
22823159 ภาษากับวัฒนธรรม 3 (3-0-6)
Language and Culture
22823259 ตรรกวิทยาทางภาษา 3 (3-0-6)
Logic of Language
22825159 วรรณคดีเอก 3 (3-0-6)
Masterpieces of Thai Literature
22825259 วรรณกรรมร่วมสมัย 3 (3-0-6)
Contemporary Literature
22825359 วรรณกรรมกับสังคมและวัฒนธรรม 3 (3-0-6)
Literature and Society and Culture
22833159 ลักษณะภาษาไทย 3 (3-0-6)
Characteristics of Thai Language
22833259 ภาษากับสังคม 3 (3-0-6)
Language and Society
22839159 การศึกษาค้นคว้าทางภาษาไทย 1 3 (3-0-6)
Research on Thai Language I
22849159 การศึกษาค้นคว้าทางภาษาไทย 2 3 (0-2-7)
Research on Thai Language II
2.2.2) วิชาเอกเลือก 51 หน่วยกิต
22811459 การเขียนภาษาไทย 1 2 (1-2-3)
Thai Writing I
22821259 การพูดเพื่อประสิทธิผล 3 (2-2-5)
Effective Speech
22821359 การเขียนภาษาไทย 2 2 (1-2-3)
Thai Writing II
22821459 การอ่านหนังสือพิมพ์ 1 2 (1-2-3)
Newspaper Reading I
22821559 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม 3 (3-0-6)
Reading for Life and Social Development
22821659 มิติทางภาษาและวัฒนธรรมไทยผ่านสื่อบันเทิง 3 (3-0-6)
Thai Language and Cultural Dimensions through Entertainment Media
22823359 วิวัฒนาการแบบเรียนภาษาไทย 3 (3-0-6)
Evolution of Thai Textbooks
22825459 วรรณกรรมพระราชหัตถเลขา 3 (3-0-6)
Royal Writing Literary Works
22825559 วรรณคดีนิราศ 3 (3-0-6)
Niras
22825659 วรรณคดีคำสอน 3 (3-0-6)
Didactic Literature
22825759 วรรณคดีการละคร 3 (3-0-6)
Drama Literature
22825859 วิวัฒนาการวรรณคดีไทย 3 (3-0-6)
Evolution of Thai Literature
22825959 วรรณกรรมสำหรับเด็ก 3 (3-0-6)
Literature for Children
22826159 วรรณกรรมวัยรุ่น 3 (3-0-6)
Literature for Youths
22826259 ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดีไทย 3 (3-0-6)
Basic Knowledge of Thai Literature
22828159 ภูมิปัญญากับวิถีชีวิตไทย 3 (3-0-6)
Thai Wisdom and Ways of Life
22828259 ไทยศึกษา 3 (3-0-6)
Thai Studies
22831159 การเขียนเชิงวิชาการ 3 (2-2-5)
Academic Writing
22831259 การเขียนสารคดี 3 (2-2-5)
Non-Fiction Writing
22831359 การเขียนบันเทิงคดี 3 (2-2-5)
Fiction Writing
22831459 การอ่านทำนองเสนาะ 3 (2-2-5)
Rhythmic Reading of Thai Poetry
22831559 การเขียนร้อยแก้ว-ร้อยกรอง 3 (2-2-5)
Writing Prose and Poetry
22831659 การเขียนบทโทรทัศน์ 3 (2-2-5)
Writing Television Scripts
22831759 ภาษาเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3 (2-2-5)
Language for Advertisement and Public Relations
22831859 ภาษาไทยเพื่อการแสดง 3 (2-2-5)
Thai language for Acting
22831959 ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว 3 (2-2-5)
Thai for Tourism
22832159 การอ่านหนังสือพิมพ์ 2 2 (1-2-3)
Newspaper Reading II
22832259 ภาษาไทยระดับสูง 1 2 (1-2-3)
Advanced Thai I
22832359 สำนวนไทย 3 (3-0-6)
Thai Idioms
22833359 บาลีสันสกฤตในไทย 3 (3-0-6)
Pali and Sanskrit in Thai
22833459 เขมรในภาษาไทย 3 (3-0-6)
Khmer in Thai
22833559 อรรถศาสตร์ 3 (3-0-6)
Semantics
22833659 ภาษาถิ่น 3 (3-0-6)
Thai Dialectology
22833759 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย 3 (3-0-6)
Foreign Languages in Thai
22833859 ภาษาศาสตร์กับวาทศาสตร์ 3 (3-0-6)
Linguistics and Rhetoric
22835159 วรรณคดีชาดก 3 (3-0-6)
Jataka Literature
22835259 วรรณคดีประวัติศาสตร์ 3 (3-0-6)
Historical Literature
22835359 วรรณคดีวิจารณ์ 3 (3-0-6)
Literary Criticism
22835459 วรรณคดีเปรียบเทียบ 3 (3-0-6)
Comparative Literature
22835559 วรรณกรรมท้องถิ่น 3 (3-0-6)
Regional Literature
22835659 วรรณกรรมที่ได้รับรางวัล 3 (3-0-6)
Awarded Literature
22835759 วรรณกรรมแปล 3 (3-0-6)
Translated Literature
22835859 วรรณกรรมในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3 (3-0-6)
Literature on Electronic Media
22835959 วรรณกรรมกับศิลปะ 3 (3-0-6)
Literature and Arts
22836159 วรรณกรรมปริทัศน์ 3 (3-0-6)
Literary Review
22838159 นิทานพื้นบ้าน 3 (3-0-6)
Thai Folk Tales
22838259 คติชนในภาษาและวรรณกรรม 3 (3-0-6)
Folklores in Language and Literature
22841159 ปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน 3 (3-0-6)
Problems in Contemporary Thai Usage
22841259 ภาษาไทยเพื่องานสร้างสรรค์ 3 (3-0-6)
Thai for Creative Works
22841359 ภาษากับการแปล 3 (3-0-6)
Language and Translation
22841459 ภาษาไทยธุรกิจ 3 (2-2-5)
Business Thai
22841559 ทักษะทางภาษาเพื่องานการประชุม 3 (2-2-5)
Language Skills for Conferences
22841659 บูรณาการความรู้ภาษาไทยเพื่องานอาชีพ 3 (3-0-6)
Integrated Thai Language Knowledge for Careers
22841759 ภาษาไทยระดับสูง 2 2 (1-2-3)
Advanced Thai II
22843159 วิวัฒนาการภาษาไทย 3 (3-0-6)
Evolution of the Thai Language
22843259 ภาษาศาสตร์ประยุกต์ 3 (3-0-6)
Applied Linguistics
22843359 ทำเนียบภาษา 3 (3-0-6)
Language Registers
22843459 ภาษาสื่อสารมวลชน 3 (3-0-6)
Language in Mass Media
22845159 วรรณคดีพุทธศาสนา 3 (3-0-6)
Buddhist Literature
22845259 วรรณคดีขนบประเพณี 3 (3-0-6)
Literature Based on Thai Customs
22845359* วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 (3-0-6)
Southeast Asian Literature
22845459 วรรณกรรมการเมือง 3 (3-0-6)
Political Literature
หมายเหตุ: กำหนดให้วิชา 22845359 วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือเลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต